ยินดีต้อนรับคะ blogger นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 0012006 อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)


พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) (อังกฤษ: Communist Party of Thailand - CPT) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย แม้ตามกฎหมายไทย พคท.จะยังไม่ใช่พรรคการเมืองจดทะเบียน เนื่องจากไม่เคยจดทะเบียนจัดตั้งอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติต้องถือว่าเป็นพรรคการเมืองจริง มีอุดมการณ์การเมืองชัดเจนตั้งแต่ก่อตั้ง ดำเนินแนวทางตาม ลัทธิมาร์กซ์, ลัทธิเลนิน และความคิดเหมาเจ๋อตง นอกจากนั้น ในอดีต ยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยที่สังกัด พคท. อีกด้วย ได้แก่ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทรจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในปัจจุบัน ถึงแม้จะยังไม่มีการประกาศยุบพรรค แต่ก็มิได้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองแต่อย่างใด ช่วงปี พ.ศ. 2547 มีกระแสข่าวจากหลายสื่อว่า ทางพรรคอาจจะมีการจัดการประชุมสมัชชา พคท. อีกครั้ง (เป็นการประชุมครั้งที่ 5) แต่ก็ไม่เกิดขึ้น
ประวัติ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เดิมเรียก พรรคคอมมิวนิสต์สยาม เริ่มก่อตั้งโดยโฮจิมินห์ ชาวเวียดนาม ใช้นามแฝงว่า สหายซุง โดยประชุมครั้งแรกแบบลับๆ ที่ โรงแรมตุ้นกี่ หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2473 โดยแต่งตั้งหลี หรือ โงจิ๊งก๊วก เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และมีตัวแทนสองคนคือ ตัง หรือ เจิ่นวันเจิ๋น และ เหล่าโหงว หรือ อู่จื้อจือ จนก่อตั้งเป็นรูปร่างเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 หลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร โดยมีสมาชิกก่อตั้ง 57 คน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเป็นพรรคแนวอุดมการณ์ ยึดมั่นในลัทธิมาร์กซ เลนินและความคิด"เหมา" โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสมอภาคทางชนชั้นชี้นำสังคมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อสู้เอาชนะระบบทุนนิยมด้วยวิธี "ป่าล้อมเมือง"
วันเสียงปืนแตก

[แก้]

วันเสียงปืนแตก คือวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์ "ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง" หลังจากวันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับกองกำลังของรัฐบาลไทยมาตลอด และในยุค "แสวงหา" บรรดานักเรียนนักศึกษาประชาชนร่วมเข้าป่าเพื่อต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณณสูลานนท์ได้ออกคำสั่ง 66/2523 เพื่อนิรโทษกรรมแก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ และปี พ.ศ. 2525 พรรคมีการเจรจากับรัฐบาลไทย เลิกต่อสู้ด้วยอาวุธ ให้มาต่อสู้กันทางรัฐสภาแทน บรรดานักปฏิวัติหลายคนที่ผิดหวังต่อแนวทางของพรรคที่อิงจีนมากเกินไป โดยไม่อาศัยสภาพความเป็นจริงของประเทศไทย จึงยุติการต่อสู้ หลังจากนั้นพรรคก็อ่อนกำลังลงมาจนกระทั่งสูญสลายไปในที่สุด ในปัจจุบันยังคงมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอยู่ แต่ยังคงไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆล่าสุดมีการร่วมตัวกันพบปะกันของคนในพรรค ทั้งนี้ที่พรรคไม่ได้แสดงความเคลื่อนไหวใดๆในทางการเมืองเป็นเวลานาน ไม่ได้หมายความว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสูญสลายไป

ส. ชัด (ชิต เดชพิชัย) คุณครูนักปฏิวัติ


     

      ส. ชัด (ชิต เดชพิชัย) คุณครูนักปฏิวัติ     
      ชิต เดชพิชัย เกิดในปี พ.ศ. 2473 เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาจนจบชั้นประถม 4 จากโรงเรียนวัดท่าพญา จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนวิชียรมาตุ แล้วได้มารับราชการครูเป็นครูประชาบาลที่โรงเรียนวัดท่าพญา เมื่อปี พ.ศ. 2489  โดยมีครูสิน เดิมหลิ่ม ทำหน้าที่รักษาการครูใหญ่เนื่องจากครูพร ศรีไตรรัตน์ไปเป็นศึกษาธิการ เป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวัดท่าพญาได้ 2 ปีก็ถูกย้ายไปช่วยราชการที่โรงเรียนบ้านยวนโป๊ะสอน อยู่ที่นี่ได้ 6 เดือนก็ถูกย้ายกลับไปที่โรงเรียนวัดท่าพญาตามเดิม  บ้านบ่อถ่าน ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน  จังหวัดตรัง เป็นถิ่นที่อยู่ของนายกลั่ม เดชพิชัย กับ นางฉ้า ทิพกล่อม สองสามีภรรยาคู่นี้มีบุตรและธิดาด้วยกัน 7 คน คือ
นายเหิม เดชพิชัย อาชีพรับราชการครู
นายเปลก เดชพิชัย อาชีพเกษตรกร
นางปลื้ม (ฉ้ง) เดชพิชัย
นางเอิบ ช่วยเกต อาชีพค้าขาย
นายเช้า เดชพิชัย อาชีพเกษตรกร
นายชิต เดชพิชัย อาชีพรับราชการครู
นางหนูทิม จันทรเกต อาชีพเกษตรกร
       ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นช่วงที่สภาพบ้านเมืองประสบกับความยากลำบากอัตคัดขาดแคลน ความแตกต่างของคนรวยกับคนจนห่างกันอย่างชัดเจน คนรวยก็รวยล้นฟ้า คนจนเลือดตาแทบกระเด็น มิหนำซ้ำเจ้านาย (ชนชั้นปกครอง) กลับกดขี่ข่มเหงชาวบ้าน ประกอบกับมีการเคลื่อนไหวความคิดสังคมนิยมของพรรคขยายมาสู่กลุ่มครูที่นี่ อาทิ ครูพร้อม ทองพิทักษ์ ครูสิน เดิมหลิ่ม ครูกนก บุณโยดม ซึ่งเป็นครูรุ่นพี่ ที่ชักชวนและให้การศึกษาจนครูชิต เดชพิชัย ตื่นตัวก้าวหน้าสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2493 งานที่ได้รับมอบหมายในขณะนั้นคือการทำการจัดตั้งชาวนาในตำบลท่าพญา โดยเริ่มจัดตั้งชาวนาให้รู้จักการรวมกลุ่มสามัคคี การใช้แรงงานดำนาลงแขกเกี่ยวข้าว ทำให้ได้กลุ่มชาวนามาหลายหน่วย มีการเคลื่อนไหวการขึ้นภาษียางของทางราชการและคัดค้านอิทธิพลท้องถิ่น จนมีการปลดกำนันท่าพญาออกคนหนึ่ง ผลของการเคลื่อนไหวได้ส่งผลสะเทือนไปยังตำบบลใกล้เคียงเช่น ตำบลย่านตาขาว ตำบลบางด้วน ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียนและจังหวัดพัทลุงที่อยู่ใกล้เคียง
        ในปี พ.ศ. 2497 คุณประเสริฐ เอี้ยวฉาย จัดตั้งของพรรคฯ ได้มาบอกให้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากได้รับมอบหมายภาระหน้าที่จากพรรคฯ จึงได้เขียนใบลาออกจากราชการ โดยที่ทางการยังไม่ได้อนุมัติให้ลาออกก็ได้เดินทางไปประเทศจีน โดยเดินทางขึ้นมารวมกันที่จังหวัดนครปฐมกว่า 10 คน มีทั้งมาจากอีสานและภาคต่าง ๆ   ทางใต้ในชุดนี้มีไปด้วยกัน 3 คนคือคุณชม แก้ว และชิต เดชพิชัย โดยนั่งเรือสินค้าไปที่ฮ่องกงแล้วไปมาเก๊า จากนั้นจึงเดินทางโดยรถไฟไปปักกิ่ง ในราวปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2497
เมื่อไปถึง เขาได้จัดหมวดการศึกษาใหม่ขึ้น 1 หมวด ชื่อว่า หมวด 8 มีคนที่เดินทางไปก่อนแต่ยังไม่ได้ศึกษาก็มารวมไว้ในหมวดนี้ ศึกษาอยู่ได้ไม่กี่เดือนก็ย้ายไปเสฉวน เพราะมีจีนมีปัญหาขัดแย้งกับสหภาพโซเวียต (มีครูจีนและรัสเซียมาให้การศึกษา) ศึกษาอยู่ประมาณ 2 ปีจึงจบ หลังจากจบการศึกษาแล้วก็ได้ทยอยกลับประเทศ ลุงชิตได้กลับมาในรุ่นที่ 2 ขากลับต้องเดินทางผ่านเวียดนาม ลุงชิตไม่สบายและประกอบกับเวียดนามเหนือต้องทำการสู้รบอย่างหนักหน่วง จึงต้องอยู่ที่ฮานอยระยะหนึ่ง กลับมาถึงไทยสมัยจอมพลสฤษดิ์ปฏิวัติเสร็จแล้ว ให้ พล.อ.ถนอม เป็นนายกรัฐมนตรี ประมาณปี พ.ศ. 2501
       หลังจากกลับมาแล้วได้รับมอบหมายภาระหน้าที่จากพรรคฯ ให้ทำงานมวลชนอยู่ที่นครศรีธรรมราช โดยมี ก้าน ปานช่วย  ถ่อง เจียงสกุล และลุงชิต เป็นคณะกรรมการจังหวัด โดยลุงชิตมาทำงานที่โรงงานขนงปังและเคลื่อนไหวจัดตั้งครู นักเรียน นักศึกษาและชาวนา  ทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ สามารถขยายสมาชิกพรรคฯ ได้หลายคนจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2502 สันติบาลได้เข้าจับกุมนักเรียนที่หาดใหญ่จนสาวมาถึงลุงชิต ทำให้พ่อตาลุงชิตที่อยู่ปัตตานีพร้อมเพื่อน ๆ ประมาณ 30 คนจากสงขลา นครศระรรมราช ปัตตานีและนราธิวาส ถูกจับติดคุกคนละ 6-8 ปี ส่วนลุงชิตติดนานกว่าเพื่อนถึง 10 ปี เพราะถูกจับขณะไปเป็นวิทยากรปลุกระดมนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐ
     ติดคุกอยู่ที่คุกลาดยาวในกรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง แล้วย้ายมาอยู่ที่คุกลหุโทษที่คลองเปรมจนครบ 10 ปีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ได้มีโอกาสตั้งวงดนตรีในคุกและร่วมเล่นดนตรีกับจิตร ภูมิศักดิ์  หลังจากพ้นโทษก็มาอยู่ที่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่งเพื่อรอการติดต่อจากพรรคฯ  พอดี สุภัทร์ สุคนธาภิรมย์ เป็นคนพัทลุงและเพิ่งรู้จักกันตอนอยู่ในคุกได้มาชักชวนให้มาทำงานที่ธนาคารเอเชีย โดยมาอยู่ฝ่ายเก็บข้อมูลทางเศรษฐกิจการเมืองให้กับฝ่ายวิชาการของธนาคาร ลุงชิตได้ทำงานอยู่ที่นี่เป็นเวลา 3 ปี  หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านท่าพญา โดยมีภรรยาชื่อคุณเอื้อน (วาสนา ฤษชามาตุ) ยึดอาชีพทำนาและขายขนมใส่ไส้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวนักปฏิวัติ โดยเฉพาะชาวพรรคฯ หลังติดคุกแล้วทุกต้องอยู่เงียบ ๆ สักระยะหนึ่ง เพราะจะต้องถูกตรวจสอบติดตามอย่างแน่นอน จากนั้นทางจัดตั้งจึงได้ทำการติดต่อและบอกให้อยู่เฉย ๆ ไม่ต้องติดต่อใคร ทางจัดตั้งจะให้สหายเขตงานมวลชนจากป่ามาติดต่อเอง
ช่วงมาอยู่บ้านก็ได้มีการต่อสู้ด้วยอาวุธของกองทัพเขตพัทลุง-ตรังแล้ว และมวลชนในตำบลท่าพญาก็มีความตื่นตัวพอสมควร หลังจากนั้นไม่นานทางรัฐบาลก็โหมปราบปรามอย่างหนักทั่วประเทศ โดยเฉพาะกรณีถังแดง (พ.ศ. 2514-2516) ที่จังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช ทำให้ชาวบ้านทะลักขึ้นป่ากันเป็นจำนวนมาก ทำให้กองทัพประสบกับความยากลำบากอย่างที่สุด จนต้องถอยลึกเข้าไปอยู่เขตป่าเขาและงานมวลชนหดตัวลง
      กองทัพและงานมวลชนเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 กองทหารที่เข้ามาตั้งตามหมู่บ้านในชนบทถอนตัวกลับไป ทำให้ลุงชิตติดต่อกับสหายที่อยู่ในป่าได้อีกครั้ง  งานมวลชนก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 2-3 ปี จึงถูกเพ่งเล็งและจับตามองของทางราชการ จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารโหด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทางการจึงได้ปราบปรามอย่างรุนแรงทั้งในเมืองและชนบทรวมทั้งตำบลท่าพญาด้วย ชาวบ้านที่นี่จึงต้องหนีทะลักเข้าป่าจำนวนมากอีกครั้ง
ลุงชิตและภรรยา (คุณเอื้อน) จึงหนีเข้าป่าด้วย โดยนำลูกชายน้อย 2 คนคือ พิทูรย์ เดชพิชัย และพิชัย เดชพิชัย ไปฝากให้ญาติพี่น้องเลี้ยงดู
      ในระยแรกที่ขึ้นกองทัพ สหายได้จัดให้ ส.ชัด (ลุงชิต) ทำการผลิตอยู่บนค่ายในเขต 2 (ในตระ)  ส.ชัดจึงได้เขียนประวัติช่วงที่กลับจากประเทศจีนและช่วงที่ถูกจับติดคุกให้ทางพรรคทราบโดยละเอียด หลังจากนั้นทางพรรคฯ จึงส่งไปทำงานมวลชนแถวบ้านท่าพญาในฐานะหัวหน้าเขตงาน
สถานการณ์หลัง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และปีถัดมา งานปฏิวัติของเขตพัทลุง สตูล ขยายเขต 5 ซึ่งเป็นเขตพิเศษก็ว่าได้สำหรับเปิดโรงเรียนทางการเมืองการทหาร และโรงเรียนอนุชน ทางพรรคฯ จึงได้เรียกตัว ส.ชัด ให้มารับผิดชอบเขต 5 ทั้งหมดในฐานะคณะกรรมการจังหวัด
       ส.ชัด ได้เปิดโรงเรียนขึ้นที่นี่ทั้งหมด 5 รุ่น เป็นโรงเรียนการเมืองการทหารพื้นฐาน 3 รุ่น (ใช้ระยะเวลาอบรมรุ่นละ 3 เดือน) โรงเรียนผู้ปฏิบัติงานมวลชน 1 รุ่น และโรงเรียนนายร้อยภาคใต้ 1 รุ่น (ใช้เวลาทั้งหมด 9 เดือน) ช่วงที่อยู่ที่นี่ คุณเอื้อนได้กำเนิดบุตรชายคนสุดท้องชื่อ วิภาค เดชพิชัย ที่แม่เกือบเอาชีวิตไม่รอดด้วยการเป็นครรภ์ไข่ปลาดุก ทำให้ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้องเอาเด็กออก
ขณะเดียวกันสถานการณ์ทางสากล นับตั้งแต่จีนขัดแย้งกับสหภาพโซเวียตและประนีประนอมกับอเมริกา ซึ่งตรงข้ามกับพรรคไทยที่ถือว่าอเมริกาเป็นศัตรูหมายเลข 1 และในปี พ.ศ. 2522 เวียดนามรุกเข้ากัมพูชาและเวียดนามถูกจีนทำสงครามสั่งสอนทางภาคเหนือ จีนจึงขอร้องให้พรรคไทยอย่าใช้สถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.) โจมตีรัฐบาลไทยเพื่อแลกกับการส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ช่วยเหลือเขมรแดง แต่พรรคเราเลือกที่จะปิด สปท. ที่เปิดมาเป็นเวลา 17 ปีแทน ส่งผลสะเทือนเป็นวิกฤติศรัทธาต่ออุดมการณ์สังคมนิยมของสหายในขบวนปฏิวัติ  ต่างค่อย ๆ ทยอยออกมาจากเขตป่าเขาจนไม่มีนักเรียนมาเรียนในโรงเรียนการเมืองการทหาร
       นับได้ว่าช่วงชีวิต ส.ชัด ที่อยู่ในป่า เป็นเวลา 5 ปีเศษ  เวลาเกือบทั้งหมดใช้ไปทางการศึกษาและฝึกอบรมที่เขต 5 และในปี พ.ศ. 2524 ทางเขตสุราษฎร์ธานีได้เปิดโรงเรียนพรรค ทางจัดตั้งได้ขอตัวให้มาช่วยสอนร่วมกับคุณประสิทธิ์ ตะเพียนทอง เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นเวลา 3 เดือน เสร็จภารกิจแล้วจึงได้กลับมาที่เขต 5 ตามเดิม
      หลังจาก ส.ชัด ลงจากกองทัพแล้วในปี พ.ศ. 2525 แล้ว  ยังคงทำงานต่อไปตามเงื่อนไขที่ทำได้ในเวลานั้น เช่น พยายามรวมสมัครพรรคพวกที่เคยเข้าป่าให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ติดตามข่าวสารบ้านเมืองและใช้ชีวิตอยู่อย่างสมถะจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551  ด้วยโรคชราในวัย 78 ปี “รักษาเกียรติภูมิของชาวพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ว่าสถานการณ์จะอยู่ในกระแสสูงหรือกระแสต่ำจนสิ้นลมหายใจ”
 
                                                                              ที่มา : ไฟลามทุ่ง

อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=321270

บันทึกนักปฏิวัติไทย.. พลโทประยูร ภมรมนตรี


...การเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่เริ่มแรก มีเรื่องพึงสังเกตที่ก่อความปั่นป่วนแตกร้าวและความอลเวงวิบัติในการเมืองที่เกิดขึ้นตลอดมาเป็นลำดับ นับตั้งแต่วันแรกในคำประกาศยึดอำนาจการปกครอง มีการนำคำว่า ศรีอารยะ อันเป็นการแฝงถึงระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาใช้บังหน้าเป็นปฐมฤกษ์ ครั้นต่อมาในการนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราวขึนทูลเกล้าถวาย ณ วังสุโขทัย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2475 ในการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ในวาระนี้ มีบุคคลรวมตัวเป็นคณะ 9 ท่านคือ พล. ร.ต. พระยาสรยุทธเสนีย์ พ.อ. พระยาทรงสุรเดช พ.อ. พระยาฤทธิอัคเนย์ พ.ท. พระประสาทพิทยายุทธ พ.ต. หลวงวระโยธา หลวงประดิษฐ์มนูธรรม รท. จรูญ ณ บางช้าง นายสงวน ตุลาลักษณ์ กับข้าพเจ้า ก่อนที่จะเข้าเฝ้านั้น พล. ท. พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร สมุหราชองครักษ์ได้นำพระราชปรารภมาบอกกล่าวให้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังไม่สามารถจะเจรจากับคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองภายใต้การขู่เข็ญของรถถังได้ ขอให้ถอยพวกยานเกราะออกไปให้พ้นพระราชวัง...

... หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้นำรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าถวาย ทรงตั้งพระทัยพิจารณาอย่างจริงจัง แต่ครั้นแล้วก็มีข้อความหลายตอนที่ข้องพระทัยยิ่งนัก จึงตรัสถามพระยาทรงสุรเดชว่า ได้อ่านรัฐธรรมนูญมาก่อนหรือเปล่า ซึ่งพระยาทรงสุรเดชกราบทูลว่าไม่ได้อ่านแล้วทรงหันมาถามข้าพเจ้าว่าได้อ่านหรือเปล่า ข้าพเจ้าก็ตอบว่าไม่ได้อ่านเช่นกันเพราะไม่ใช่หน้าที่ และท่านเจ้าคุณได้กำชับหลวงประดิษฐ์ ฯ แล้วว่าให้ร่างตามแบบอังกฤษ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งรับสั่งว่าต้องการจะให้เป็นเช่นนั้น แต่นี่เรื่องอะไรกันถึงกับจะต้องใช้คำว่า เสนาบดีว่า คณะกรรมการราษฎร ซึ่งเป็นแบบรัสเซีย แบบคอมมิวนิสต์ ทรงไม่เข้าใจว่านี่มันอะไรกัน

พระยาทรงสุรเดชรู้สึกตกตลึงอึ้งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วลุกขึ้นมาถวายคำนับว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอพระ
ราชทานสารภาพผิด ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานสารภาพผิด ข้าพระพุทธเจ้ามิได้อ่านมาก่อน ดังนั้นข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานอภัยและขอถวายสัตย์ว่า จะไปร่างมาใหม่ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ทุกประการ สมเด็จพระปกเกล้าทรงนิ่งอึ้งอยู่ครู่หนึ่ง น้ำพระเนครขุ่น รู้สึกอัดอั้นตันพระทัยอย่างยิ่ง น้ำพระเนตรไหลแล้วรับสั่งว่า ถ้าพระยาทรงสุรเดชรับรองว่าจะเอาไปแก้ไขกันใหม่ ฉันก็จะยอมเชื่อพระยาทรง ฯ แต่อย่างไรก็ตามวันนี้หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมเซ็น แล้วขอให้เป็นวันที่ 27 คือต่อจากนั้นอีกสองวัน แล้วจึงสเด็จขึ้น พวกเราทุกคนต่างตกตลึงพรึงเพริดทยอยกันออกไปยืนที่ลานหน้าพระราชวัง พระยาทรง ฯ ชี้หน้าหลวงประดิษฐ์ ฯ ว่า คุณหลวงทำฉิบหายป่นปี้ ไม่ทำตามที่บอกกล่าวกันไว้ ทำอะไรไปนอกเรื่อง...

อ้างอิง http://looktao.multiply.com/journal/item/211/211

จิตร ภูมิศักดิ์


จิตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด
ไฟล์:Chit.jpg
จิตรเป็นบุตรของ นายศิริ ภูมิศักดิ์ และนางแสงเงิน ภูมิศักดิ์ มีชื่อเดิมว่า สมจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
จิตรเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2509 หลังเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยถูกอาสาสมัครและทหารล้อมยิง
การศึกษา
  • พ.ศ. 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งรับราชการเป็นนายตรวจสรรพสามิต เดินทางไปรับราชการยังจังหวัดกาญจนบุรี และเข้ารับการศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนประจำจังหวัดแห่งนั้น จิตรย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2482 บิดาของจิตรย้ายไปรับราชการในเมืองพระตะบอง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเมืองในการปกครองของไทย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา) จิตรจึงย้ายตามไปด้วย และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่นั่น
  • พ.ศ. 2490 ประเทศไทย ต้องคืนดินแดนเมืองพระตะบองให้กัมพูชา จิตรจึงอพยพตามมารดากลับเมืองไทย ส่วนบิดานั้นไปเริ่มชีวิตครอบครัวใหม่กับหญิงอื่นๆ ระหว่างที่ครอบครัวภูมิศักดิ์ ยังอยู่ที่พระตะบอง นางแสงเงินเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดลพบุรี ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร โดยจิตรเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมบพิตรหรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน และสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด
แนวคิดและการต่อสู้
ชื่อเสียงของ จิตร ภูมิศักด์ น่าจะโด่งดังในสาธารณชนวงกว้างเป็นครั้งแรก จากกรณี โยนบก เมื่อครั้งที่เขาเป็นสาราณียากร ให้กับหนังสือประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2496 ในครั้งนั้นเขาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ "ซ้ำ ๆ ซาก ๆ" ของหนังสือประจำปี โดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ซึ่งรวมถึงรัฐบาลด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน โดยบทความเหล่านั้น มีทั้งที่จิตรเขียนเอง ร่วมแก้ไข หรือเพื่อน ๆ คนอื่นเขียน ผลก็คือระหว่างการพิมพ์หนังสือได้ถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการ "สอบสวน" จิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตที่นำโดยนายสีหเดช บุนนาคคณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งศาลเตี้ยจับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2497
ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทร์ศึกษา แต่สอนได้ไม่นาน ก็ถูกไล่ออกไป เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป จิตรจึงไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงวิชาการไทยหลายเรื่อง เช่น การวิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน"
ปี พ.ศ. 2498 เขากลับเข้าเรียนอีกครั้งและสำเร็จปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นก็เข้าเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จนกระทั่งถูกจับในข้อหา "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน และภายนอกราชอาณาจักรและกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์" เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เขาถูกคุมขังอยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 จึงได้รับการปลดปล่อยและพ้นจากข้อหาของทางการ
เนื่องจากเขาถูกติดตามคุกคามจากทางการและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างหนักทำให้เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม สหายปรีชา ต่อมาถูกอดีตกำนันตำบลคำบ่อ อาสาสมัคร และทหาร ล้อมยิงจนเสียชีวิต ตายด้วยกระสุนปืนที่ทุ่งนากลางป่าละเมาะ บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
ผลงาน

[แก้]

จิตรมีความสามารถในด้านภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์อย่างมาก และยังมีความสามารถระดับสูงในด้านอื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นอัจฉริยะบุคคลของไทยคนหนึ่ง ในด้านภาษาศาสตร์นั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญในภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาเขมรนั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาเขมรปัจจุบันและภาษาเขมรโบราณด้วย นอกจากนี้ จิตรได้เขียนพจนานุกรมภาษาละหุ (มูเซอ) โดยเรียนรู้กับชาวมูเซอขณะอยู่ในคุกลาดยาว ในตอนแรก ชาวมูเซอไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ จิตรเองก็ไม่สามารถพูดภาษามูเซอได้เช่นกัน แต่ด้วยความสามารถ เขาสามารถเรียนรู้ระบบของภาษา และนำมาใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์

[แก้]งานเขียนชิ้นเด่น

  • หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ", 2519*
  • หนังสือ "ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม" (ต่อมาพิมพ์รวมเล่มกับ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" เป็น "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์")
  • หนังสือ "โฉมหน้าศักดินาไทย"*
  • หนังสือ "ภาษาและนิรุกติศาสตร์"
  • หนังสือ "ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย", 2548
  • หนังสือ "โองการแช่งน้ำ และ ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา", 2524
  • หนังสือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา", 2526
  • หนังสือ "ตำนานแห่งนครวัด"
  • เพลง "ภูพานปฏิวัติ"
  • เพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา"
  • บทกวี "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน"
  • บทกวี "อะไรแน่ ศาสนา ข้าสงสัย"
  • บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์*
ผลงานที่มี * ข้างท้าย หมายถึงถูกคัดเลือกให้อยู่ใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน
นามปากกา

[แก้]

นามปากกาของจิตรมีเป็นจำนวนมาก เช่น นาคราช, ศูลภูวดล, ศรีนาคร, ทีปกร, สมสมัย ศรีศูทรพรรณ, ศิลป์ พิทักษ์ชน, สมชาย ปรีชาเจริญ, สุธรรม บุญรุ่ง, ขวัญนรา, สิทธิ ศรีสยาม1, กวีการเมือง, กวี ศรีสยาม, บุคแมน, มูฟวี่แมน (มูวี่แมน) , ศิริศิลป์ อุดมทรรศน์, จักร ภูมิสิทธิ์2
หมายเหตุ:  หมายถึง ใช้เพียงครั้งเดียว,  เป็นคำผวนของชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/จิตร_ภูมิศักดิ์

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ลำดับเหตุการณ์กบฎในประเทศไทย

เอนทรี่หัวข้อที่ผมเขียนขึ้นมานี้ เขียนเป็นเอนทรี่แรกของบล็อกนี้ โดยข้อมูลส่วนใหญ่นั้นมาจากเว็บไซต์ วิกีพีเดียและผมก็อธิบา สรุป ตัดแต่งเองเป็นบางส่วน เพื่อให้ข้อมูลกระชับ ไม่ยาวเกินไป  ผมอยากบอกว่าผมก็ไม่ใช่นักเขียนหรือนักเรียบเรียงตัวยงนักหรอกครับ แต่อยากตีแผ่ข้อมูลให้หลายๆคนรับรู้
กบฎ ในประเทศไทยนั้นมีที่เป็นเหตุการณ์หลักๆเกิดขึ้นทั้งหมด 13 ครั้ง ตามกฎหมายไทยนั้น กบฎหรือขบถเป็นความผิดทางอาญา  ฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรืออำนาจอธิปไตยทั้งสาม หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจปกครอง ถ้าการกระทำทั้งหมดนี้สำเร็จจะเรียกว่าการ ปฏิวัติ ถ้าไม่สำเร็จจะเรียกว่า กบฎ  

ครั้งที่กบฎ ร.ศ.130 (พ.ศ.2454) โดย คณะ ร.ศ.130 
- เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 20 ปี โดยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี คน จำคุกสิบสองปี30 คน  แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
 ครั้งที่กบฎบวรเดช (11 ตุลาคม พ.ศ.2476) โดย คณะกู้บ้านกู้เมือง มีพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า
เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่เสนอโดยนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกกล่าวหาจากผู้เสียประโยชน์ว่าเป็น "คอมมูนิสต์และชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา 

ครั้งที่กบฎนายสิบ (สิงหาคม พ.ศ.2478) โดย สิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด เป็นหัวหน้า
เป็นแผนที่จะเกิดขึ้นในเวลา 03.00 น. วันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2478 เมื่อนายทหารชั้นประทวนในกองพันต่าง ๆ นำโดย สิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด ได้รวมตัวกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยหมายจะสังหารนายทหารคนสำคัญในกองทัพบกหลายคน โดยเฉพาะหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ให้จับตายเท่านั้น เมื่อลงมือจริง สามารถจับพระยาพหลพลพยุหเสนา และ พันโทหลวงพิบูลสงคราม (จอมพลป. พิบูลสงคราม - ยศในขณะนั้น) เป็นตัวประกันไว้ได้ แต่รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ในวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2478 เวลา12.00 น. ต่อมาได้มีการตั้งศาลพิเศษชำระคดี หัวหน้าฝ่ายกบฏ ส.อ.สวัสดิ์ มหะมัด ถูกตัดสินประหารชีวิต โดยศาลนี้ไม่มีทนาย ไม่มีอุทธรณ์ ไม่มีฎีกา และยังสามารถตั้งผู้พิพากษาได้ตามใจอีกต่างหาก โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้พิพากษาที่ผ่านคดีต่าง ๆ มาแล้วอย่างมากเช่นศาลคดีตามปกติ
 ครั้งที่กบฎพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฎ 18 ศพ (29 มกราคม พ.ศ.2482) โดย พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นหัวหน้า
- เป็นเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 เนื่องจากความขัดแย้งระหว่าง หลวงพิบูลสงคราม กับพระยาทรงสุรเดช ตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 การสนับสนุนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เหตุการณ์ครั้งกบฏบวรเดช และเหตุการณ์พยายามลอบสังหารหลวงพิบูลสงครามติดต่อกันหลายครั้ง (ลอบยิง ครั้ง วางยาพิษ ครั้ง)
เมื่อหลวงพิบูลสงคราม ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากพระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 พระยาทรงสุรเดช ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการโรงเรียนรบ จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำนักศึกษาไปฝึกภาคสนามที่จังหวัดราชบุรี ได้มีคำสั่งให้พ้นจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ และบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศ พร้อมด้วยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ทส. ประจำตัว

ครั้งที่กบฎเสนาธิการ (ตุลาคม พ.ศ.2491) โดย พลตรีหลวงศรานุชิต (สมบูรณ์ ศรานุชิต) และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้า
 เมื่อนายทหารระดับเสนาธิการของกองทัพ เช่น พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต และ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทราบแผนการล่วงหน้าและทำการจับกุมผู้คิดก่อการได้ ผู้ถูกจับกุมในเหตุการณ์ครั้งนี้มีอดีตรัฐมนตรีสมัย นายปรีดี พนมยงค์ และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีหลายคน
กบฏครั้งนี้ เกิดหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ประมาณหนึ่งปี และหลังจากกบฏเสนาธิการไม่ถึงหนึ่งปี ก็เกิดกบฏซ้ำอีกครั้ง คือ กบฏวังหลวง เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492และหลังจากนั้นอีกครั้ง คือ กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494. ความพยายามยึดอำนาจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประสบผลสำเร็จในที่สุด ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารทำการโค่นล้มรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ครั้งที่กบฎแบ่งแยกดินแดน (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2491)
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ได้มีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานหลายคน เช่น นายทองอินทร์ ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่ารวมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิคุ้มครองทางการเมือง
- กบฏ พ.ศ. 2507 การก่อการกบฏในประเทศไทย ที่มักไม่ค่อยมีการบันทึกไว้ ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2507 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการจับกุมผู้ก่อการกบฏทั้งหมด 10 คน โดยมากเป็น ทหารอากาศ มี ทหารเรือ และ ตำรวจ เข้าร่วมด้วย โดยทราบเรื่องว่าจะก่อการกบฏในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งผู้ก่อการกบฏ อาทิ เช่น พล.อ.อ.นักรบ บิณศรี อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นหัวหน้า, พล.อ.ต.ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ, พล.อ.ต.เอกชัย มุสิกบุตร, พ.ท.บุญพฤกษ์ จาฏามระ พ.ท.สุดใจ อังคณานุรักษ์, ร.อ. นรชัย จาฏามระ
กบฏยังเติร์ก หรือ
อำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ก่อการประกอบด้วยนายทหารซึ่งจบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 หรือที่เรียกว่ารุ่น ยังเติร์ก ได้แก่ พันเอกมนูญ รูปขจร (ม.พัน.4 รอ.), พันเอกชูพงศ์ มัทวพันธุ์ (ม.1 รอ.), พั กบฏเมษาฮาวาย เป็นการก่อกบฏเมื่อวันที่ 1 เมษายน - 3 เมษายน พ.ศ. 2524 เพื่อยึดนเอกประจักษ์ สว่างจิตร (ร.2), พันโทพัลลภ ปิ่นมณี (ร.19 พล.9), พันเอกชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล (ร.31 รอ.), พันเอกแสงศักดิ์ มงคละสิริ (ช.1 รอ.), พันเอกบวร งามเกษม (ป.11), พันเอกสาคร กิจวิริยะ (สห.มทบ.11) โดยมี พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ

ที่สุดกรมตำรวจ จึงใช้วิธีใช้อำนาจและเล่ห์เหลี่ยมในการจับกุม 4 อดีตรัฐมนตรีจากภาคอีสาน ประกอบด้วย จำลอง ดาวเรือง ถวิล อุดล ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ซึ่งทั้งหมดเป็นอดีตรัฐมนตรีและนักการเมืองในสังกัดของนายปรีดี พนมยงค์ และเตียง ศิริขันธ์
จากนั้นจึงนำไปยิงทิ้ง เมื่อเวลา 03:00 คืนวันที่ 4 มีนาคม 2492 ที่ถนนพหลโยธิน ก.ม.ที่ 11 บริเวณบางเขน (ใกล้แยกรัชโยธิน) โดยทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตอย่างน่าสงสัยบนรถขนนักโทษของตำรวจ แต่ทางตำรวจแถลงว่าเกิดจากการปะทะกับโจรมลายูที่จะมาชิงตัวนักโทษ ซึ่งไม่มีใครเชื่อถือ

ครั้งที่7 กบฎวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ 2492) โดย ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า
เกิดขึ้นโดยนายปรีดี พนมยงค์นำกองกำลังส่วนหนึ่งจากประเทศจีนร่วมกับคณะนายทหารเรือ และอดีตเสรีไทยกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์" นำกำลังยึดพระบรมมหาราชวังและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นกองบัญชาการ (จึงเป็นที่มาของชื่อกบฏในครั้งนี้) ในเวลาประมาณ 16.00 น. และเมื่อเวลา 21.00 น. ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายนาย โดยนายปรีดีได้ปลอมตัวเป็นทหารเรือและติดหนวดปลอมปะปนเข้ามาพร้อมกับกลุ่มกบฏ แต่มีผู้พบเห็นและจำได้
ซึ่งความจริงแล้ว ทางฝ่ายรัฐบาลก็รู้ตัวก่อนแล้ว เพราะ จอมพล ป.ก่อนหน้านั้นได้พูดทิ้งท้ายไว้เป็นนัยทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยว่า "เลือดไทยเท่านั้น ที่จะล้างเมืองไทยให้สะอาดได้" และได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ล่วงก่อนถึง 3 วันเกิดเหตุ
ในระยะแรก ฝ่ายกบฏดูเหมือนจะเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ เพราะสามารถยึดสถานที่สำคัญและจุดยุทธศาสตร์ไว้ได้หลายจุด แต่ทว่าตกค่ำของคืนวันนั้นเอง ทหารฝ่ายรัฐบาลก็ตั้งตัวติดและสามารถยึดจุดยุทธศาสตร์กลับคืนมาได้ อีกทั้งกองกำลังทหารเรือฝ่ายสนับสนุนกบฏจากฐานทัพเรือสัตหีบก็ติดอยู่ที่ท่าน้ำบางปะกง เพราะน้ำลดขอดเกินกว่าปกติ แพขนานยนต์ไม่สามารถที่จะลำเลียงอาวุธและกำลังคนข้ามฟากไปได้ เมื่อน้ำขึ้นก็เป็นเวลาล่วงเข้ากลางคืน กองกำลังทั้งหมดมาถึงพระนครในเวลา 2 ยาม ถึงตอนนั้นฝ่ายกบฏก็เพลี่ยงพล้ำต่อรัฐบาลแล้ว
จุดที่มีการปะทะกันระหว่างทหารบกฝ่ายรัฐบาล และทหารเรือฝ่ายกบฏ เช่น ถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 สาทร เป็นต้น มีการยิงกระสุนข้ามหลังคาบ้านผู้คนในละแวกนั้นไปมาเป็นตับ ๆ
พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ยศในขณะนั้น) ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการปราบปราม มีการสู้รบกันในเขตพระนครอย่างหนักหน่วง โดย พล.ต.สฤษดิ์เป็นผู้ยิงปืนจากรถถังทำลายประตูวิเศษไชยศรีของพระบรมมหาราชวังพังทลายลง จนในที่สุด เวลาเย็นของวันที่27 กุมภาพันธ์ ทั้ง 2 ฝ่ายก็หยุดยิง เมื่อรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้และปราบปรามฝ่ายกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง และหลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ได้มีการสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองลงหลายคน เช่น พล.ต.ต. บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พ.ต. โผน อินทรทัต ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบและอดีตเสรีไทย รวมทั้งการสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 13 คือนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง และนายทองเปลว ชลภูมิ ซึ่งเป็นนักการเมืองในสายของนายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น

ครั้งที่8 กบฎแมนฮัตตัน (29 มิถนายน พ.ศ.2494) โดย นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา และ นาวาตรีมนัส จารุภา
เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงครามระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา
หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ. อานนท์ บุญฑริกธาดา รน. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินแบบ Spirt fire และ T6 ใส่เรือหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ภายหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการได้แยกย้ายกันหลบหนีไปพม่าและสิงคโปร์

ครั้งที่9 กบฎสันติภาพ (8 พฤศจิกายน พ.ศ.2497)
เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จับกุมประชาชนจำนวนมาก โดยอาศัยอำนาจตามความในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 102, 104, 177, 181 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ในการจับกึมครั้งนี้ กรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ได้จับกุมบุคคลต่างๆ เป็นจำนวนถึง 104 คน "ด้วยปรากฏจากการสอบสวนของกรมตำรวจว่า มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมาย ด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย เพื่อก่อให้เกิดการแตกแยก เกิดการทำลายกันเอง โดยใช้อุบายต่างๆ เช่น ปลุกปั่นแบ่งชั้น เป็นชนชั้นนายทุนบ้าง ชนชั้นกรรมกรบ้าง ชักชวนให้เกลียดชังชาวต่างประเทศที่เป็นมิตรของประเทศบ้าง อันเป็นการที่อาจจะทำให้เสื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ ให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยการชักจูงชาวต่างประเทศเข้าร่วมทำการยึดครองประเทศไทย..." จากนั้นยังได้ทะยอยจับกุมประชาชนเพิ่มเป็นระยะๆ จนกระทั่งถึงกลางปี พ.ศ. 2496 ก็ยังมีข่าวว่าได้จับกุมและสึกพระภิกษุที่เคยสนับสนุนและเผยแพร่สันติภาพอีก
          คดีนี้ อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหารวมทั้งสิ้น 54 ราย ศาลได้พิพากษาจำคุก บางราย 13 ปี บางราย 20 ปี และได้รับการประกันตัวและพ้นโทษตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องในโอกาสพุทธศตวรรษที่ 25 ในปี พ.ศ. 2500

ครั้งที่10 กบฎ พ.ศ.2507 (1 ธันวาคม พ.ศ.2507) โดย พลอากาศเอกนักรบ บิณศรี เป็นหัวหน้า

ซึ่งศาลทหารได้ตัดสินจำคุกทั้งหมด 3 ปี 3 คน ได้แก่ พ.ท.บุญพฤกษ์ จาฏามระ, พ.ท.สุดใจ อังคณานุรักษ์ และ ร.อ.นรชัย จาฏามระ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508

ครั้งที่11 กบฎ 26 มีนาคม 2520 (26 มีนาคม พ.ศ.2520) โดย พลเอกฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้า
พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกองกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.กมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพล.อ.เสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520 นับเป็นกบฏคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตตราบจนบัดนี้

ครั้งที่12 กบฎยังเติร์ก หรือ กบฎเมษาฮาวาย (1-3 เมษายน พ.ศ.2524) โดย  พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เป็นหัวหน้า

  คณะผู้ก่อการได้เริ่มก่อการเมื่อเวลา 2.00 น. ของวันที่ 2 เมษายน โดยจับตัว พลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลโทหาญ ลีนานนท์พลตรีชวลิต ยงใจยุทธ และพลตรีวิชาติ ลายถมยา ไปไว้ที่หอประชุมกองทัพบก และออกแถลงการณ์คณะปฏิวัติ มีใจความว่า
"เนื่องจากสถานการณ์ของประเทศทุกด้านกำลังระส่ำระส่ายและทรุดลงอย่างหนัก เพราะความอ่อนแอของผู้บริหารประเทศ พรรคการเมืองแตกแยก ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน จึงเป็นจุดอ่อนให้มีคณะบุคคลที่ไม่หวังดีต่อประเทศเคลื่อนไหว จะใช้กำลังเข้ายึดการปกครองเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบเผด็จการถาวร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและอยู่รอดของประเทศ คณะปฏิวัติซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน จึงได้ชิงเข้ายึดอำนาจการปกครองของประเทศเสียก่อน"
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่ กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งกองบัญชาการตอบโต้ และใช้อำนาจปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจาก พลตรี อาทิตย์ กำลังเอก รองแม่ทัพภาคที่ 2
การกบฏสิ้นสุดลงโดยไม่ได้มีการต่อสู้กัน โดยเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็วเสมือนฝันหรือเป็นการแสดง ประจวบกับเกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนเมษายนตรงกับวันเอพริลฟูลส์ ซึ่งตามธรรมเนียมชาวตะวันตกถือเป็นวันที่ผู้คนโกหกใส่กันได้ จึงได้อีกชื่อนึงในเชิงเหยียดหยันจากสื่อมวลชนว่า กบฏเมษาฮาวาย

ครั้งที่13 กบฎทหารนอกราชการ (9 กันยายน พ.ศ.2528) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร มีพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า
เป็นการก่อกบฏเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528ของนายทหารนอกประจำการคณะหนึ่ง ประกอบด้วย พันเอกมนูญ รูปขจร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ร่วมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง และพลเรือนบางส่วนซึ่งเป็นผู้นำแรงงาน โดยได้ความสนับสนุนทางการเงินจากนายเอกยุทธ อัญชันบุตร การกบฎครั้งนี้พยายามจะยึดอำนาจการปกครองที่นำโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กบฏครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในทวีปยุโรป
การก่อการเริ่มต้นเมื่อเวลา 3.00 น. โดยรถถังจำนวน 22 คัน จากกองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (ม.พัน.4 รอ.) พร้อมด้วยกำลังทหารกว่า 400 นาย จากกองกำลังทหารอากาศโยธิน เข้าควบคุมกองบัญชาการทหารสูงสุด สนามเสือป่า กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และอ่านแถลงการณ์ของคณะปฏิวัติ ระบุนาม พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ในส่วนของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ได้นำกำลังทหารส่วนหนึ่ง และผู้นำสหภาพแรงงาน เข้าไปยึดองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และควบคุมตัวนายพิเชษฐ สถิรชวาล ผู้อำนวยการ ขสมก. ในขณะนั้น เพื่อนำรถขนส่งมวลชนไปรับกลุ่มผู้ใช้แรงงานเข้ามาร่วมด้วย
ต่อมาทหารฝ่ายรัฐบาล ประกอบด้วยพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผบ.ทบ. รักษาการตำแหน่ง ผบ.ทบ. พลโทชวลิต ยงใจยุทธ รองเสนาธิการทหารบก, พลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ ประสานกับฝ่ายรัฐบาลซึ่งพลเอกประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี อยู่ในตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งกองอำนวยการฝ่ายต่อต้านขึ้นที่ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.)บางเขน และนำกองกำลังจาก พัน.1 ร.2 รอ. เข้าต่อต้าน และออกแถลงการณ์ตอบโต้ในนามของ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก กองกำลังหลักของฝ่ายรัฐบาลคุมกำลังโดยกลุ่มนายทหาร จปร. 5 ประกอบด้วย พลโทสุจินดา คราประยูร พลโทอิสระพงศ์ หนุนภักดี พลอากาศโทเกษตร โรจนนิล
เมื่อเวลาประมาณ 9.50 น. รถถังของฝ่ายกบฏ ที่ตั้งอยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เริ่มระดมยิงเสาอากาศวิทยุ และอาคารของสถานีวิทยุกระจายเสียงกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และยิงปืนกลเข้าไปในบริเวณวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมประมวลข่าวกลาง ทำให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศเสียชีวิตสองคน คือ นายนีล เดวิส ชาวออสเตรเลีย และนายบิล แรตช์ ชาวอเมริกัน
ทั้งสองฝ่ายปะทะกันรุนแรงขึ้น และมีการเจรจาเมื่อเวลา 15.00 น. โดยพลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาล และพลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นตัวแทนฝ่ายกบฏ และทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ และถอนกำลังกลับที่ตั้งเมื่อเวลา 17.30 น.
ส่วนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อคืนวันที่ 9 กันยายน แล้วเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในคืนนั้น
เมื่อการกบฏล้มเหลว ผู้ก่อการ คือ พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร ได้ลี้ภัยไปสิงคโปร์และเดินทางไปอยู่ในประเทศเยอรมนีตะวันตก ส่วนคณะที่เหลือให้การว่าถูกบังคับจากคณะผู้ก่อการกบฏ มีผู้ถูกดำเนินคดี 39 คน หลบหนี 10 คน
มีข่าวลือเกี่ยวกับการยึดอำนาจครั้งนี้ว่า พันเอกมนูญ รูปขจร ทำหน้าที่เพียงเป็นหัวหอกออกมายึด เพื่อคอยกำลังเสริมของผู้มีอำนาจที่จะนำกำลังออกมาสมทบในภายหลัง และการกบฏครั้งนี้ล้มเหลวเนื่องจาก "นัดแล้วไม่มา"
(ว่าที่)ครั้งที่14 กบฎพันธมิตรฯ (พ.ศ.2551)  โดย กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปตูประชาธิปไตย
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือที่เรียกกันสั้นๆว่ากลุ่มพาลทะมิดพันธมิตร ประกอบด้วยแกนนำทั้ง9คน ได้แก่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง  นายสนธิ ลิ้มทองกุล  นายสมศักดิ์ โกศัยสุข  นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์  นายพิภพ ธงไชย  นายสุริยะใส กตะศิลา  นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์  นายเทิดภูมิ ใจดี และนายอมร อมรรัตนานนท์  เป็นกลุ่มการชุมนุมที่มีพลังมากที่สุดในโลก(เขาว่างั้น)  โดยสามารถขออะไรรัฐบาลอะไรก็ได้ โดยไม่เกรงใจใคร สามารถล้มล้างรัฐบาลที่สุดยอดและยิ่งใหญ่อย่างพรรคไทยรักไทยที่ประชาชนคนไทยรักและนับถือได้เกือบสิ้นซาก
โดยเมื่อรัฐบาลผสมอย่างพรรคพลังประชาชนได้จัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กลุ่มพันธมิตรก็ยังไม่เลิกลาที่จะขับไล่รัฐบาลผสมชุดนี้ ให้ข้อมูลประชาชนคนไทยผ่านช่องทีวีASTVให้มาร่วมชุมนุมจนเศรษฐกิจทรุดเป็นอย่างมาก ซึ่งสำหรับบางคนการชุมนุมนี้ถือว่ากลายเป็นแฟชั่นขนานหนึ่งสำหรับคนที่มีความแยกแยะไม่ดีพอไปแล้ว
เมื่อรวบรวมประชาชนได้จำนวนหนึ่ง จึงได้ยกขบวนม็อบตัวเองจากสะพานมัฆวานรังสรรค์ ไปยึดสถานีโทรทัศน์NBT ทำเนียบรัฐบาล และสถานที่ราชการต่างๆ  โดยมีหน่วยกล้าตายแนวหน้าอย่างนักรบศรีวิชัย ไปบุกทำลายข้าวของต่างๆในสถานีโทรทัศน์NBT ยึดได้ทั้งมีด และอาวุธโหดๆทั้งน้านน
ล่าสุดทำเนียบรัฐบาลจึงได้เป็นที่อยู่และที่ปักหลักของกลุ่มพันธมิตรไปที่เรียบร้อย ทั้งๆที่มีหมายจับแกนนำทั้ง9ในข้อหากบฎต่อประเทศ
ทำเนียบรัฐบาลถือว่าเป็นสถานที่จุดศูนย์กลางในการบริหารประเทศ เป็นสถานที่ที่ต้องได้รับการโปรดเกล้าฯจากพระมหากษัตริย์ จึงจะสามารถเข้าไปได้ (โดยจะเปิดให้คนทั่วไปเข้าไปได้เฉพาะวันเด็ก) จึงจัดถือเป็นสถานที่ที่ศักสิทธิ์ แต่ในขณะนี้มีทั้งวงดนตรีไปร้องเล่นทุกวัน  ถุงยางเกลื่อน ห้องส้วมเต็ม ฯลฯ ถือว่าเป็นการหมิ่นเบื้องสูง 
เมื่อมีการออกหมายจับแกนนำทั้ง9 แกนนำหลายๆคนจึงไม่สามารถออกไปจากทำเนียบรัฐบาลได้ เพราะออกไปก็โดนจับ อยู่ไปก็โดนข้อหากบฎ ฉนั้นแกนนำทั้งหลายจึงได้แต่ปราศรัยให้ทุกคนออกมาเป็นโล่ห์ป้องกันชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลออกไปเพื่อให้ยกเลิกหมายจับแกนนำทั้ง9 ซึ่งกองกำลังที่สำคัญที่มาป้องกันให้กับกลุ่มพันธมิตรก็มีทั้งนักรบศรีวิชัย พระในกลุ่มสันติอโศก มีโพธิรักษ์เป็นหัวหน้าลัทธิ (พระที่เป็นปาลาชิก) และผู้หญิง  ถือเป็นโล่ห์กำลังสำคัญในการป้องกันกลุ่มของตน
กลุ่มพันธมิตรมีจุดยืนที่จะให้รัฐบาลห้ามแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ,เอาการเมืองใหม่50 50 , รัฐบาลที่มาจากพรรคพลังประชาชนต้องออกไป (ซึ่งการที่จะมีการเมืองใหม่นั้น ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรก็ยังสับสนในตัวเอง)
ปัจจุบันกลุ่มพันธมิตรกำลังรอวันเหี่ยวเฉา เมื่อใดก็ตามที่มีการเลิกชุมนุม แกนนำกลุ่มนี้จะถูกจับข้อหากบฎ

อ้างอิง  http://bell-wsr-.exteen.com/20080924/entry-1